วิธีการ และแนวทางการเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก  สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน  บ่อซีเมนต์และในกระชัง  แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน  ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน  1  ไร่

การเลือกสถานที่

ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา  มีดังนี้ 
          1.  สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป  สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
          2.  สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
          3.  สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
          4.  ทางคมนาคมสะดวก

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา

มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
1.  บ่อใหม่
–  ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา  60-100  กิโลกรัม/ไร่  โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
–  ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา  200  กิโลกรัม/ไร่  โดยโรยให้ทั่วบ่อ
–  เติมน้ำให้ได้ระดับ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5  วัน  จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา         

2.  บ่อเก่า             
–  ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่สุด              
–  ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100  กิโลกรัม/ไร่             
–  ตากบ่อให้แห้ง  ประมาณ  7-15  วัน             
–  นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ  60-100  กิโลกรัม/ไร่  เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ              
–  เติมน้ำ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5 วัน  จนน้ำเป็นสีเขียว        
ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง  ถ้าไม่ถึง  7.5-8.5  ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง  ให้ได้  7.5-8.5

การเตรียมพันธ์ปลา

การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ  ดังนี้
          1.  แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก  ควรดูจาก
              –  ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
              –  มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์  เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
              –  มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
          2.  ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์  ซึ่งสังเกตจาก
              –  การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว  ไม่ว่ายควงสว่าน  หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
              –  ลำตัวสมบูรณ์  หนวด  หาง  ครีบ  ไม่กร่อน  ไม่มีบาดแผล  ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
              –  ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน

การปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง

              เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ  10-15  นาที  เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค  ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

อัตราการปล่อย

               เกษตรกรรายใหม่  ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว  จะทำให้อัตราการรอดสูง  อัตราการปล่อย  ปลาขนาด 2-3  เซนติเมตร  ปล่อย  80,000-100,000 ตัว/ไร่  ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง

อาหารและการให้อาหาร

               ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ  80%  เป็นค่าอาหาร  เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

การเลือกซื้ออาหาร

ลักษณะของอาหาร

          –  สีสันดี
          –  กลิ่นดี  ไม่เหม็นหืน
          –  ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ  ไม่เป็นฝุ่น
          –  การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
          –  อาหารไม่เปียกชื้น  ไม่จับตัวเป็นก้อน  ไม่ขึ้นรา

ประเภทของอาหารสำเร็จรูป

          –  อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  1 – 4  เซนติเมตร
          –  อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  3  เซนติเมตร – 1  เดือน
          –  อาหารปลาดุกเล็ก  ใช้สำหรับปลาอายุ  1-3  เดือน
          –  อาหารปลาดุกใหญ่  ใช้สำหรับปลาอายุ  3  เดือน  –  ส่งตลาด

วิธีการให้อาหารปลา

               เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร  จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป  อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน  พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด  ภายในเวลา  30-60  นาที  โดยให้อาหารประมาณ  1  สัปดาห์      หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน    เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ  ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน  30  นาที  ให้กินจนลูกปลาอายุ  1  เดือน   ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่   โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้  2  มื้อ  ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ  2  เดือน  ให้อาหารปลาดุกใหญ่  ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที่  โดยให้อาหาร  2  มื้อ   ในกรณีปลาป่วย  หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ  ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ  หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ  หรือใส่เกลือ  หรือปูนขาว   ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ  3-5  กรัมต่ออาหาร  1  กิโลกรัม  ให้กินติดต่อกัน  7  วัน  เช่น  อาออกชีเตตร้าซัยคลิน    ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ  เช่นถ้าพบปลิงใส  เห็บระฆัง  เกาะจำนวนมาก  หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น  30-40  ซีซี/น้ำ  1,000  ลิตร  ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด

Leave a Reply