โรคในปลาที่มากับฝนนั้น จะมีหลายลักษณะ แต่อาการโดยทั่วไปของโรคในปลา ก็คือ จะมีแผลลึกตามลำตัวและส่วนหัวนะคะ พบได้ในปลาหลากหลายชนิด พี่อยู่ในธรรมชาติหรือที่เลี้ยงในน้ำจืด และน้ำกร่อยนะคะ และก็มักจะเกิดขึ้น ในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาวอีกด้วยค่ะ

สาเหตุที่การเกิดโรคในปลาที่มากับหน้าฝน
สาเหตุที่การเกิดรูปในปลาที่มากับหน้าฝน ส่วนมากที่พบโดยทั่วไปนะคะ จะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งเชื้อรานี้ มีคุณสมบัติพิเศษไม่สามารถชอนไช เข้าไปในกล้ามเนื้อของปลาอีกด้วย และยังจะทะลุไปถึงอวัยวะต่าง ๆ ภายในปลาได้ด้วยนะคะ และโรคที่เกิดนี้จะสลับซับซ้อนกว่าโรคอื่น ๆ ที่เกิดโรคในปลาที่มากับฝน เชื้อโรคชนิดอื่น ๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส และนอกจากนี้นะคะ ยังทำให้เชื้อราทำอันตรายต่อปลาได้ง่ายขึ้น และส่วนปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้นนะคะ ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำที่มีต่ำลง สภาพน้ำเป็นกรดมากไป ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปลาอ่อนแอได้ และทำให้เกิดการติดเชื้อราได้ง่าย และปลาป่วยเป็นโรคระบาดได้ค่ะ
ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาหน้าฝน
- สำหรับอากาศบ้านเราจะร้อน หรือร้อนมากนั้น ซึ่งจะเป็นอากาศก่อนที่ฝนจะตกทำให้อุณหภูมิ มีการเปลี่ยนแปลง และค่าความเป็นกรด และด่าง และความขุ่นของน้ำ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ฝนตก แน่นอนมันจะส่งผลกระทบกับปลา ที่เราเลี้ยงแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นลูกปลาที่กำลังเกิดใหม่ หรือปลาที่เพิ่งปล่อยลงใหม่ในสระ หรือบ่อ รวมไปจนถึงปลาที่เลี้ยงกัน แบบหนาแน่นส่งผลทำให้ปลาน็อคน้ำ หรือปลาจะปรับตัวไม่ทัน และทำให้เกิดโรคในปลาช่วงฤดูฝนอีกด้วยนะคะ
- เมื่อฝนตกหนัก ๆ แล้ว ลมก็จะมีการพัดพาพวกปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือขี้เถ้าต่าง ๆ จากการเผาป่าซึ่งล้วน เป็นมลพิษต่อปลาที่เราเลี้ยง และเราอาจจะได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงที่ฝนตกใหม่ ๆ
- ต่อมาก็จะเป็นของพวกตะกอนแขวนลอย ที่เกิดจากการชะดิน ในช่วงฝนตก หรือหน้าฝน พวกตกตะกอนจะฟุ้งกระจาย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ เหงือกของสัตว์ในน้ำ การแลกเปลี่ยนออกซิเจน และสัตว์น้ำจะกินอาหารลดลงทำให้เครียด และตายได้
- หากฝนตกทั้งวันทั้งคืน ที่ตกติดต่อกันหลายวันจนเกิดปัญหาน้ำท่วมตามมาได้
- เมื่อมีฝนตก น้ำฝนจะชะล้างความเป็นกรด จากอากาศ และดินลงสู่บ่อทำให้ค่า pH ของน้ำในบ่อต่ำลง และก่อให้เกิดพิษของก๊าซไข่เน่า และแอมโมเนียก็จะมากขึ้น จึงเป็นเหตุที่ทำให้ปลาลอยหัวขึ้นมาหาอากาศหายใจ จะทำให้ปาเป็นโรคเครียดป่วย และอาจถึงตายได้ด้วยนะคะ

แนวทางการป้องกันปรสิต และโรคในปลาที่มากับฝน
- เราควรจะงดเลี้ยงปลา ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เพราะว่าสภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน ไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงปลานะคะ
- ถ้าหากเลี้ยงปลาในช่วงฤดูกาลก็ควรจะปล่อยปลา เลี้ยงลงในอัตราที่เหมาะสม ไม่หนาแน่นจนเกินไป
- และควรทำความสะอาดบ่อปลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการตกตะกอน และเศษอาหารก็เพราะว่าจะสามารถตัดวงจรชีวิตปรสิต และเชื้อโรคได้นะคะ
การรักษาโรคในปลาที่มากับฝน
ในปัจจุบันยังไม่มีตัวยา หรือสารเคมีที่จะฆ่าเชื้อราในตัวปลาได้ แต่ด้วยอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นหรือสิ้นสุดฤดูหนาว ปลาจะสามารถหายป่วยเองได้ ดังนั้น การป้องกันในโรคระบาดเราจะมีวิธีการที่ดีที่สุด ได้แก่
- การป้องกันโรคระบาดในปลาที่มากับฝนในบ่อเลี้ยงนั้น ถ้าพบปลาป่วยเป็นโรคระบาดในธรรมชาติ ในช่วงปลายฤดูฝน ที่ติดกับฤดูหนาว ให้รีบปิดบ่อ และงดการเติมน้ำเข้าบ่ด้วยทันทีค่ะ
- ในช่วงที่ปิดน้ำ เราจำเป็นต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ปลากินเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสียในบ่อเลี้ยงปลานะคะ
- เราควรที่จะควบคุมคุณภาพของน้ำ ในบ่อปลา โดยอาจจะใช้ปูนขาวควบคุมคุณภาพ ของน้ำในบ่อเลี้ยงปลา
- สำหรับบ่อที่มีการเน่าเสียโดยจะมีแก๊สผุดขึ้นมา จากพื้นบ่อให้เราสามารถตัด หรือเครือบริเวณที่เกิดประมาณ 200 ถึง 300 กิโลกรัมต่อบ่อปลาขนาด 1 ไร่ และระดับน้ำลึก 1 เมตรนะคะ
- ในกรณีที่ปลาในบ่อธรรมชาติหายป่วยแล้วและอุณหภูมิของน้ำก็ยังสูงขึ้นนะคะหรือสิ้นสุดฤดูหนาวและฤดูฝนเราจะทำการถ่ายที่น้ำ และเพิ่มปริมาณอาหารของปลาได้ตามปกติได้ค่ะ

