
เลี้ยงวัวขุนบราห์มันแดง ด้วยหญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 มีเครื่องบดหญ้าราคาย่อมเยา งานง่ายๆ ซื้อมาขายไป สร้างรายได้งดงาม
เดินทางผ่านเส้นทางอำเภอวาปีปทุม จ.มหาสารคาม –ผ่านบ้านหนองห้าง ตำบลหนองแวงควง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เห็นกองฟางอัดฟ่อนกองเรียงราย น่าสนใจจึงแวะ ลงทักมาย คุณวันชัย มีหวายหลึม อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 89 ม.7 บ้านหนองห้าง ตำบลหนองแวงควง อำเภอศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด โทร.096-8974697 เขากำลังนั่งตัดหญ้าอยู่หน้าบ้านเพื่อเป็นอาหารวัว
คุณวันชัยให้การต้อนรับ ด้วยไมตรีจิตอย่างดียิ่ง พร้อมเล่าเรื่องราวให้ฟัง ว่า ตนเอง พร้อมภรรยาคือคุณสัมฤทธิ์ มีหวายหลึม ลูกชาย 3 คน เจริญเติบโตพร้อมได้รับการศึกษา ตามสมควรและพลังแรงสนับสนุนของ บิดา- มารดา คนโต ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ธกส.จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ทำนา 6 ไร่ ปลูกหญ้าเนเปียร์ 1 ไร่ เลี้ยงโคบราห์มันแดง 6 ตัว เพศผู้ 2 ตัว ทำงานแบบซื้อมาขายไป ขุนเพื่อจำหน่าย อาหารหลักคือ ฟางข้าวอัดแห้ง ให้ผสมผสานกับ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1
คุณวันชัย นำเดินชมไปพื้นที่เลี้ยงโคขุน หลังบ้าน แบบขังในโรงเรือนโล่งดูสะอาด มีรางน้ำ รางอาหาร เกลือแร่ห้อยไว้ให้วัวเลียเป็นอาหารเสริม วัวหนุ่มสาวที่กำลงซุกซน ยื่นหัวออกมาเพื่อรับอาหารที่เจ้าของนำมาให้ เป็นงานง่ายๆสร้างรายได้ที่งดงาม เพราะนาข้าวเพียง 6 ไร่ ไม่เพียงพอต่อการยังชีพแน่นอน เลี้ยงโคขุนสามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้อย่างน้อยเดือนละ 2-3 หมื่น แบบซื้อมาขายไป

คุณวันชัย เดินนำดูเครื่องจักร พ่วงรถไถนาเดินตาม ส่งแรงมายังเครื่องบด สับหญ้าเนเปียร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง เพราะญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 หญ้าสดคุณภาพสูงของอาหารประจำวัน แต่ต้นใหญ่ แข็ง ต้องบด อัด สับ ให้วัวกิน ทำให้วัวเจริญเติบโตดีมากๆ เครื่องบดอัก สับ หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ตามท้องตลาดทั่วไป ราคา 25,000-30,000 บาท แต่เครื่องบดอัด สับหญ้าเนปียร์ ปากช่อง 1 ของคุณวันชัย ราคา 4,000 บาท ลักษณะเครื่อง เป็นกล่อง 4 เหลี่ยม กว้าง 1 คืบ ยาว 2 คืบ ต่อแกนกลางเพื่อใช้เป็นแรงเหวี่ยง ให้กลไกเครื่องสับทำงาน แรงขับเคลื่อน คือ เครื่องยนต์รถไถนาเดินตามนั่นเอง
คุณวันชัย บอกว่า เป็นเรื่องที่ต้องเผยแพร่ให้ชาวคาวบอยที่รักการเลี้ยง “วัว” ให้ทราบและเป็นเครื่องทุ่นแรงในการสร้างรายได้จากการเลี้ยงวัว ไม่มีสัตว์ชนิดใดที่กินเพียงหญ้าแล้วให้เนื้อหนังมังสา ตัวใหญ่ ตลาดมีความต้องการสูง คือการเลี้ยงวัว ครอบครัวตนเองอยู่ดีมีสุข ด้วยความพอเพียง น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” สู่ครอบครัว ให้เดินตามวิถีพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน นำหลักวิชาการ มีคุณธรรม กิน แจก แลก ขาย หรือ สู่การกินอิ่มนอนอุ่นทุนมี หนี้หมด ครอบครัวเกษตรกรมีความสุขครับ

ขอบคุณเนื้อหาดีๆ จาก : https://www.technologychaoban.com/livestock-technology/article_22941